ในบทความนี้จะพูดถึง 9 สัญญาณ เป็น แผลในกระเพาะอาหารอาการมีอะไรบ้าง เกิดจากอะไร ภาวะแทรกซ้อนจากกระเพาะเป็นแผล มีอะไรบ้าง เช่น ติดเชื้อ เลือดออก ปวดหลัง แล้วกินอะไรได้บ้าง ห้ามกินอะไร และควรกินยาอะไร
บทความนี้จะพาคุณไปหาคำตอบกัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย!!
สัญญาณว่า เป็น แผลในกระเพาะอาหาร อาการ มีอะไรบ้าง?
สำหรับคนที่ เป็น แผลในกระเพาะอาหารอาการ จะมีดังนี้
- ปวดท้อง ปวดแสบปวดร้อนในกระเพาะอาหารซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของแผลในกระเพาะอาหาร
- ท้องอืดหรือท้องบวม
- คลื่นไส้ อาเจียน
- เบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง ทานแปปเดียวก็รู้สึกอิ่มแล้ว
- น้ำหนักลด มักจะเป็นผลจากอาการเบื่ออาหาร
- ความเมื่อยล้า บางคนอาจรู้สึกเหนื่อยและอ่อนแรงอันเป็นผลมาจากแผลในกระเพาะอาหาร
- ปวดท้องหลังจากทานอาหารรสเผ็ดจัด
- ปวดท้องเมื่อท้องว่าง โดยเฉพาะช่วงตอนกลางคืน
- อุจจาระสีดำมีเลือดปนหรืออุจจาระค้าง เป็นสัญญาณว่ามีเลือดออกภายในที่เกิดจากกระเพาะอาหารเป็นแผล ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที
อาการ แผลในกระเพาะอาหาร เกิดจากอะไร ?
สำหรับ อาการ แผลในกระเพาะอาหาร เกิดจากอะไร นั้น สาเหตุหลักๆ คือ ร่างกายผลิตกรดและน้ำย่อยมากเกินไปจนหลั่งออกมาทำลายเยื่อบุในกระเพาะอาหารจนเป็นแผล ซึ่งมีปัจจัยที่ทำให้เกิด ได้แก่
- การกินอาหารมื้อหนักๆ
- การติดเชื้อ H. pylori ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของแผลในกระเพาะอาหาร แบคทีเรียนี้สามารถทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอ่อนลง ทำให้กรดในกระเพาะอาหารทำลายเนื้อเยื่อข้างใต้ได้
- การสูบบุหรี่ จะไปเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดกระเพาะอาหารเป็นแผล เพราะจะไปลดปริมาณการไหลเวียนของเลือดที่ไปยังเยื่อบุกระเพาะอาหารจนทำให้เมือกที่ป้องกันกระเพาะอาหารอ่อนแอลง
- การใช้ยาแก้ปวดบางชนิด เช่น แอสไพรินและไอบูโพรเฟน
- การใช้ยาแก้รักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- การกินอาหารรสเผ็ดจัด
- ความเครียด อาจทำให้เกิดการผลิตกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้นจนทำให้เกิดแผลได้ง่ายขึ้น
- ภาวะผิดปกติจากโรคต่างๆ เช่น โรคโครห์นและซาร์คอยโดซิส สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้เช่นกัน
- กรดเกินในกระเพาะอาหาร
สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารก่อน จึงจะสามารถป้องกันและรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ภาวะแทรกซ้อนเมื่อมี อาการกระเพาะเป็นแผล มีอะไรบ้าง
เมื่อมี อาการกระเพาะเป็นแผล จะมีโอกาสเกิด ภาวะแทรกซ้อนได้ถึง 25-30% ทีเดียว ซึ่งมีอาการดังนี้
- เลือดออกจากกระเพาะเป็นแผล
- โรคโลหิตจาง เนื่องจากการเสียเลือดจากกระเพาะเป็นแผล
- กระเพาะอาหารทะลุ
- กระเพาะอาหารอุดตัน
- ปวดหลัง
- ติดเชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori)
โดยเราจะลงรายละเอียดแต่ละภาวะแทรกซ้อนดังนี้
อาการเป็นแผลในกระเพาะอาหารเลือดออก
อาการเป็นแผลในกระเพาะอาหารเลือดออก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงเกิดขึ้นจากกระเพาะอาหารเป็นแผล จนแผลไปกัดเซาะผ่านผนังกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นและเข้าสู่เส้นเลือด อาจทำให้เลือดออกเล็กน้อยไปจนถึงมากก็ได้ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารจนเลือดออก มักจะแสดงอาการ ดังนี้
- อาเจียนเป็นเลือด
- ถ่ายดำเหลว สีเข้ม
- หน้ามืด
- ภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก เนื่องจากการเสียเลือด
- ปวดท้องช่วงบนอย่างรุนแรง
- หน้าท้องแข็งตึง กดแล้วจะเจ็บมาก
- อ่อนเพลีย
หากเกิดอาการข้างต้น นั้นเป็นสัญญาณอันตราย ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน เพื่อทำการรักษาแต่เนิ่นๆ ในกรณีที่รุนแรงมากๆ อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการส่องกล้องหรือผ่าตัดเพื่อควบคุมเลือดออก
แผลในกระเพาะอาหารปวดหลัง
อาการปวดหลังจากแผลในกระเพาะอาหาร สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การอักเสบและระคายเคืองของเยื่อบุกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อกระตุก และอาการปวดจากอวัยวะอื่นๆ ในช่องท้อง และ อาการปวดหลังจากแผลในกระเพาะอาหารมีตั้งแต่ปวดตื้อๆ หรือปวดร้าวๆ ที่หลังตอนกลางหรือหลังส่วนบน จนถึงอาการปวดอย่างรุนแรง จนทำให้นอนหลับยากก็เป็นได้
แผลในกระเพาะอาหารติดเชื้อ
การเกิดแผลในกระเพาะอาหารอาจจะเนื่องมาจากการติดเชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะอาหารเรื้อรังได้ ซึ่งในบางครั้งอาจไม่แสดงอาการ จนในที่สุดก็จะเกิดแผล ซึ่งอัตราผู้ติดเชื้อจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลอยู่ที่ 10-20%
แบคทีเรีย H. pylori จะอยู่รอดได้ในสภาพที่ความเป็นกรดรุนแรง โดยจะขุดเข้าไปในเยื่อบุกระเพาะอาหารและผลิตเอนไซม์ที่ทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารออกมา
อาการเมื่อการติดเชื้อ H. pylori จนเป็นกระเพาะอาหารเป็นแผล ได้แก่
- ปวดแสบปวดร้อนในช่องท้องส่วนบน
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- น้ำหนักลด
- เบื่ออาหาร
- อาการปวดมักจะแย่ลงในขณะท้องว่าง
หากปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น เลือดออก กระเพาะทะลุ (มีรูในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก) และแม้แต่มะเร็งกระเพาะอาหารก็มีโอกาสเป็นได้
เมื่อผู้ป่วยรู้ว่าตัวเองเกิดอาการกระเพาะอาหารอักเสบจากการติดเชื้อ H. pylori ควรเริ่มป้องกันและรักษาตัวเองแต่เนิ่นๆ โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น เลิกสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาหารรสจัด และลดความเครียด
อยากรู้ว่าเมื่อกระเพาะอาหารเป็นแผลต้องกินยาอะไรใช่ไหม?
คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ :
กระเพาะเป็นแผล กินอะไรได้บ้าง ?
หากผู้ป่วยรู้ตัวแล้วว่า กระเพาะเป็นแผล สิ่งที่ควรกิน มีดังต่อไปนี้
- พืชตระกูลถั่ว
- แครอท
- แตงกวา
- บล็อกโคลี
- โยเกิร์ต
- สาหร่าย
- หน่อไม้ฝรั่ง
- กล้วย
- ธัญพืชเต็มเมล็ด
- แอปเปิ้ล
- เบอร์รี่
- ผักใบเขียว
- มันเทศ
- ข้าวโอ๊ต
- ข้าวกล้อง
- ควินัว
- ปลา
- อกไก่
- เต้าหู้
- ไข่
หลักๆควรที่จะทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ ผลไม้ ผัก อาหารที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร อาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ ธัญพืชเต็มเมล็ด โปรตีนไม่ติดมัน อาหารที่มีไขมันดีต่อสุขภาพด้วย และควรดื่มน้ำมากๆ
ยิ่งไปกว่านั้นควรทานอาหารมื้อเล็กๆ บ่อยๆ 5-6 มื้อ ตลอดทั้งวัน แทนที่จะทานอาหารมื้อใหญ่ทีเดียว 3 มื้อ ก็จะช่วยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและป้องกันไม่ให้การระคายเคืองจนกระเพาะเป็นแผล
กระเพาะเป็นแผล ห้ามกินอะไร ?
สำหรับคนที่เกิด กระเพาะเป็นแผล ห้ามกินอะไร บ้าง มีดังนี้
- อาหารเปรี้ยวจัด พวกที่ใช้พริกป่น และซอสเผ็ด
- อาหารทอด
- อาหารเผ็ดจัด
- อาหารที่มีไขมันสูง
- ของดอง
- อาหารที่มีกรดสูง
- ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว และเกรปฟรุต รวมถึงมะเขือเทศ สับปะรด และแครนเบอร์รี่
- เนื้อสัตว์แปรรูป
- ผลิตภัณฑ์นมไขมันสูง เช่น เนยและชีส
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- กาแฟ
- ช็อกโกแลต
- น้ำอัดลมทุกชนิด
- ยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน และนาพรอกเซน
ทุกชนิดที่กล่าวมาทั้งหมด ควรเลี่ยงไม่ทาน เพราะจะไปกระตุ้นให้หลั่งกรดเพิ่มขึ้นจนทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคืองและอักเสบได้
คุณสามารถดูรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับอาหารต้องห้ามเวลาเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้ที่ :
【 เมื่อเป็นแผลในกระเพาะอาหารห้ามกินอะไร ? 】กินอะไรได้บ้าง?
เป็นแผลในกระเพาะอาหารกินยาอะไร ดี?
สำหรับผู้ป่วยที่ เป็นแผลในกระเพาะอาหารกินยาอะไร ดีนั้น เรามีคำตอบให้ ได้แก่
- ยาซูคราลเฟต (Sucralfate)
- ยาไมโซพรอสทอล (Misoprostol)
- ยาแรนิทิดีน (Ranitidine)
- ยาไซเมทิดีน (Cimetidine)
- ยาฟาโมทิดีน (Famotidine)
- ยาลดกรด เพื่อต่อต้านกรดในกระเพาะอาหารและช่วยบรรเทาอาการในระยะสั้น อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องเสียหรือท้องผูก
- Proton pump inhibitors (PPIs) ใช้เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย และปวดหัว และหากยิ่งใช้ในระยะยาว ผู้ป่วยจะเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนและโรคปอดบวม
- อาหารเสริมสมุนไพร ที่มีส่วนผสมหลักเป็น ขมิ้นชันหรือขิง เช่น Green curmin และ Curma Max ซึ่งเป็นการรักษาแบบธรรมชาติ จึงไม่มีผลข้างเคียงตามมาทีหลัง
แม้ว่าจะมียาหลายชนิดที่สามารถช่วยบรรเทาอาการและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาถึงผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาของการใช้ยาเหล่านี้ด้วย อีกทั้งการทานยาเหล่านี้ จำเป็นจะต้องมีแพทย์เป็นผู้จ่ายยาและดูแลอย่างเหมาะสม ค่าใช้จ่ายจึงค่อนข้างสูง
แต่หากต้องการให้มีค่าใช้จ่ายที่ไม่มากนัก การทานอาหารเสริมสมุนไพรจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากเป็นการรักษาโดยธรรมชาติ จึงสามารถทานได้ต่อเนื่องยาวนานโดยไม่มีผลข้างเคียงอันตรายตามมาเหมือนการทานยา
กรีนเคอมิน และ Curma max ถือเป็นตัวเลือกที่ดี สำหรับผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากใช้ส่วนผสมของเคอร์คูมินจากขมิ้นชันและสารสกัดธรรมชาติจากขิงเป็นหลัก ซึ่งทั้ง 2 ตัว เป็นที่ทราบกันดีในวงการว่ามีคุณสมบัติลดและต้านการอักเสบพร้อมทั้งรักษาเยื่อบุกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากการวิจัยมาอย่างยาวนาน และได้รับการรับรองจาก อย. แล้วอีกด้วย
หากคุณสนใจตัวอาหารเสริม กรีนเคอมิน และ Curma max คุณสามารถกดเข้าไปดูข้อมูลเชิงลึกได้ที่นี่ :
--> 【 ยา ลด กรด ไหล ย้อน 】ขมิ้นชัน กรีนเคอมิน green curmin ดีไหม <--
สรุป
อาการของแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ ปวดแสบปวดร้อนบริเวณท้องส่วนบน คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด และเบื่ออาหาร อาการปวดมักจะแย่ลงในขณะท้องว่าง อาจบรรเทาได้ด้วยการรับประทานอาหารหรือกินยาลดกรด
แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาอย่างเหมาะสม แผลในกระเพาะอาหารอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น เลือดออก ทะลุ และแม้แต่มะเร็งกระเพาะอาหารก็สามารถเป็นได้
หากคุณสงสัยว่าคุณอาจมีแผลในกระเพาะอาหาร จนมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงหรือถ่ายออกมาเป็นเลือด สิ่งสำคัญคือต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
แต่หากอาการไม่ได้รุนแรงมาก แนะนำว่าแค่ทานอาหารเสริมสมุนไพรที่มีส่วนผสมหลักเป็นขมิ้นชันหรือขิง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารก็เพียงพอแล้ว
ที่มา : huachiew